CASSAVASTORE
มันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) นับเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย มีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลาย และมีผลผลิตรวมถึง 25 ล้านตันต่อปี มันสำปะหลังมีบทบาททั้งเป็นพืชเพื่อการดำรงชีพสำหรับเกษตรกรรายย่อย และพืชอุตสาหกรรรมเกษตรที่สำคัญ โดยรากสะสมอาหารของมันสำปะหลังที่อุดมไปด้วยแป้งได้กลายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มมากมาย เช่น แป้ง สารให้ความหวาน และแป้งดัดแปรรูปแบบต่างๆในอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ
ประเทศไทยถือเป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ มีการนำเข้าพลังงานในรูปแบบต่างๆเป็นปริมาณมากเพื่อรองรับความต้องการในการบริโภคของประชากร มันสำปะหลังได้ก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นพืชพลังงานในการผลิตไบโอเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน การเพิ่มผลผลิตรากมันสำปะหลังโดยการใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ได้ถูก ให้ความสำคัญและเป็นมาตรการเร่งด่วน เพื่อการรองรับต่อความ
ให้ความสำคัญและเป็นมาตรการเร่งด่วน เพื่อการรองรับต่อความต้องการในการใช้ประโยชน์ของมันสำปะหลังทั้งในด้านอาหารและพลังงาน โครงการ CASSAVASTORe มุ่งเป้าในการสร้างองค์ความรู้ของกลไลการพัฒนารากสะสมอาหาร เพื่อใช้ในกระบวนการพัฒนามันสำปะหลังสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตของแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลังต่างๆได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพือการศึกษาในระดับฟีโนไทป์ของความแตกต่างและหลากหลายของการชักนำและพัฒนาการของรากสะสมอาหารในมันสำปะหลัง 600 สายพันธุ์
- เพื่อสร้างรากฐานความรู้ของระบบสรีรวิทยาของการชักนำรากสะสมอาหารมันสำปะหลังที่นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นในระบบชีววิทยาของรากพืช
- เพื่อสืบหายีนที่มีบทบาทในการชักนำและพัฒนาการของรากสะสมอาหารมันสำปะหลัง สำหรับการใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพของกระบวนการปรับปรุงสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีผลผลิตรากสะสมอาหารที่เป็นเลิศ
- เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและเผยแพร่ต่อสาธารณะสำหรับการใช้ประโยชน์ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ของพืชที่สร้างรากสะสมอาหารชนิดอื่นๆ เช่น มันเทศ
ผู้ประสานงานโครงการ
Tobias Wojciechowski, PhD
Forschungszentrum Juelich - Institute for Bio- and Geosciences (Plant Sciences)
Wilhelm-Johnen-Strasse
52428 Juelich
Germany
+ 49 (0)2461 61-96383
t.wojciechowski@fz-juelich.de